วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การเลือกตั้งของไทย 2 ก.พ 2557

ผลการเลือกตั้ง 2557 เกาะติดผลคะแนนเลือกตั้ง 2 ก.พ. 2557
นำเสนอข่าวโดยทีมงาน Sanook.com

ผลการเลือกตั้ง 2557

(2 ก.พ.) เกาะติดการนับคะแนน ผลการเลือกตั้ง 2 ก.พ. 2557 หลังบรรยากาศการเลือกตั้งตลอดทั้งวันเต็มไปด้วยสถานการณ์ต่างๆ ในหลายจุด เกิดปัญหาตามหน่วยเลือกตั้ง โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ และภาคใต้ ซึ่งผลคะแนนเลือกตั้งครั้งนี้ยังไม่เป็นเอกฉันท์ เนื่องจากยังพบปัญหาในการเเลือกตั้ง รวมทั้งปัญหาที่เกิดขึ้นกับการเลือกตั้งล่วงหน้า เมื่อวันที่ 26 ม.ค. ที่ผ่านมา

สรุปภาพรวมการเลือกตั้ง 2557

ล่าสุด นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการ กกต. เปิดเผยตัวเลขผู้ออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการทั่วประเทศ โดยไม่รวม 9 จังหวัดภาคใต้ ที่มีปัญหาพบว่า มีผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งจำนวน 20,468,646 คน จากจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทั้งหมด 44,649,742 คน คิดเป็นร้อยละ 45.84 ของจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง โดย จ.ลำพูน มีผู้มาใช้สิทธิ์มากที่สุด คือ 241,209 คน คิดเป็นร้อยละ 72.80 ขณะที่พื้นที่ภาคใต้ 6 จังหวัด ที่สามารถเปิดเลือกตั้งได้บางส่วนนั้น พบว่า จ.นราธิวาส มีผู้ออกมาใช้สิทธิ์มากสุด 232,790 คน คิดเป็นร้อยละ 45.86 ขณะที่ จ.นครศรีธรรมราช มีผู้มาใช้สิทธิ์น้อยที่สุด เพียง 1,292 คน คิดเป็นร้อยละ 0.11
ภาพรวมการดำเนินการจัดการเลือกตั้งทั่วประเทศ มีหน่วยเลือกตั้งรวม 93,952 หน่วย เปิดลงคะแนนได้ 83,813 หน่วย และปิดลงคะแนนไป 10,139 หน่วย คิดเป็นร้อยละ 89.2 ทั้งนี้ใน 77 จังหวัด ประกาศงดลงคะแนนไป 18 จังหวัด โดยงดลงคะแนนทั้งจังหวัด 9 จังหวัดและงดลงคะแนนบางส่วน 9 จังหวัด รวม 69 เขต จำนวนเขตที่ประกาศงดลงคะแนนทั้งเขต 37 เขต งดลงคะแนนบางส่วน 32 เขต
______________________________________________________________________
17.56 น. คะแนนผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ หน่วยเลือกตั้งที่ 8 บ้านร่ำเปิง อ.เมืองเชียงใหม่ ผู้มีสิทธิ์ 798 มาใช้สิทธิ์ 366 แบบปาร์ตี้ลิส พรรคเพื่อไทย 214 คะแนน ไม่ประสงค์ลงคะแนน 91 คะแนน (CitizenTHAIPBS)
17.21 น. คะแนนผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ หน่วยเลือกตั้งที่ 4 เขตห้วยขวาง ผู้มีสิทธิ 1,063 คน ผู้มาใช้สิทธิ 229 คน พรรคเพื่อไทย ได้อันดับที่ 1 (@CitizenTHAIPBS)

(ภาพจากทวิตเตอร์ @Reporter_Js1)
17.00 น. คะแนนผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ หน่วยเลือกตั้งที่ 14 เมืองลำปาง พรรคเพื่อไทยได้คะแนนนำ ส่วนไม่ประสงค์ลงคะแนน ยังคงไล่ตามมาอย่างสูสี
16.39 น. คะแนนผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ หน่วยเลือกตั้งที่ 20 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท มีสิทธิ์เลือกตั้ง 669 มาใช้สิทธิ์ 153 พรรคเพื่อไทย ชนะคะแนนเลือกตั้งทั้งแบบบัญชีรายชื่อและแบ่งเขต
16.25 น. คะแนนผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ หน่วยเลือกตั้งที่ 1 โรงเรียนเจียหมิน อ.กบินทร์บุรี เขต 3 จ.ปราจีนบุรี ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง 525 มาใช้สิทธิ์ 118 เพื่อไทย 50 คะแนน ผลไม่ประสงค์ลงคะแนน 40 คะแนน ภูมิใจไทย 15 คะแนน (@CitizenTPBS)
16.20 ผลคะแนนหน่วยเลือกตั้งที่ 16 ต.บางนาค อ.เมือง จ.นราธิวาส  อันดับ 1 พรรคภูมิใจไทย 97 คะแนน พรรคชาติไทยพัฒนา 82 คะแนน ไม่ประสงค์ลงคะแนน 59 คน บัตรเสีย 25 ใบ รวมผู้มาใช้สิทธิ 268 คน (@CitizenTHAIPBS)

(ภาพจากทวิตเตอร์ @t_louder)
16.16 น. ผลคะแนนเลือกตั้งไม่เป็นทางการ หน่วยเลือกตั้งบ้านแม่พุงหลวง อ.วังชิ้น จ.แพร่ ผู้มีสิทธิ 500 คน ไปใช้สิทธิ 90 กว่า ไม่ประสงค์ลงคะแนน 60 คะแนน พรรคเพื่อไทย 15 คะแนน ที่เหลือเป็นบัตรเสีย
16.10 น. ผลคะแนนเลือกตั้งไม่เป็นทางการ หน่วยเลือกตั้ง 12 และ 13 เขต 1 จ.นครราชสีมา นับคะแนนเสร็จแล้ว คะแนนไม่เป็นทางการชาติพัฒนาชนะแบ่งเขต เพื่อไทยชนะปาร์ตี้ลิส (@da_mike)
16.08 น. ผลคะแนนเลือกตั้งไม่เป็นทางการ เขตเลือกตั้งที่ 75 ชุมชนทุ่งเศรษฐี อ.เมือง จ.ขอนแก่น ผู้มีสิทธิ์ 789 คน ใช้สิทธิ์ 270 ผลไม่ประสงค์ลงคะแนนยังนำ
16.03 น. ผลคะแนนเลือกตั้งไม่เป็นทางการ หน่วยเลือกตั้งที่ 78 แขวงสามเสน เขตพญาไท นับคะแนนเสร็จสิ้น ไม่ประสงค์ลงคะแนนได้คะแนนนำ (@Pat_ThaiPBS)

(ภาพจากทวิตเตอร์ @CitizenTHAIPBS)
15.58 น. ผลคะแนนเลือกตั้งไม่เป็นทางการ หน่วยเลือกตั้งที่ 76-89 แขวงและเขตสะพานสูง นับคะแนนแล้วใช้สิทธิ์ 25% คะแนนพรรคเพื่อไทยกับไม่ประสงค์ลงคะแนน ยังคงสูสี
15.52 น. ผลคะแนนเลือกตั้งไม่เป็นทางการ หน่วยเลือกตั้งที่ 1 เขตลาดกระบัง คะแนนแบบแบ่งเขต อันดับ 1 คือ เพื่อไทย / ไม่ประสงค์ลงคะแนน
15.48 น. ผลคะแนนเลือกตั้งไม่เป็นทางการ หน่วยเลือกตั้งที่ 12 แขวงบางแวก เขตภาษีเจริญ กทม. คะแนนแบบบัญชีรายชื่อ อันดับ 1 คือ เพื่อไทย 124 คะแนน / ไม่ประสงค์ลงคะแนน 42 คะแนน (@CitizenTHAIPBS)
15.43 น. ผลคะแนนเลือกตั้งไม่เป็นทางการ หน่วยที่ 16 รูสะมิเเล จ.ปัตตานี นับคะเเนนเสร็จสิ้นเเล้ว มีผู้มาใช้สิทธิ 91 จาก 863 คน ไม่ประสงค์ลงคะแนน 53 คะแนน พรรคเพื่อน 21 คะแนน (@CitizenTHAIPBS)

(ภาพจากทวิตเตอร์ @JaskyMCOT)
15.35 น. หน่วยเลือกตั้งที่ 84-86 เขตบางกะปิ คะแนนหมายเลข 15 พรรคเพื่อไทย ยังค่อนข้างนำ
15.27 น. พื้นที่หน่วยเลือกตั้งเขต 13 เขตสายไหม ผลปรากฎว่า คะแนนไม่ประสงค์ลงคะแนน กับเบอร์ 15 พรรคเพื่อไทย ยังค่อนข้างสูสีกัน
15.30 น. หน่วยเลือกตั้งที่ 1-4 ร.ร.มัธยมวัดธาตุทอง เขตวัฒนา คะแนนไม่ประสงค์ลงคะแนน กับเบอร์ 15 พรรคเพื่อไทย ยังค่อนข้างสูสีกัน

(ภาพจากทวิตเตอร์ @pakapong_report)
15.12 น. หน่วยการเลือกตั้งหน้าห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี ลาดพร้าว เร่มนับผลคะแนนเลือกตั้ง ทั้ง ส.ส.แบ่งแขต และ บัญชีรายชื่อ เบื้องต้นพบว่าไม่ประสงค์ลงคะแนนเป็นจำนวนมาก
15.00 น. หน่วยเลือกตั้งทั่วประเทศ ทำการปิดหีบเลือกตั้ง พร้อมดำเนินเริ่มนับผลคะแนน ณ หน่วยเลือกตั้ง แต่จะไม่มีการประกาศผลคะแนนเลือกตั้ง

วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ประวัติส่วนตัว

ชื่อ นางสาว ณัฐณิชา ชินวงศ์  (ณัฐ)

เกิด 1/06/40

อายุ16ปี

อยู่บ้านเลขที่ 5/1 ม.4 ต.ดีหลวง อ.สทิงพระ จ.สงขลา 90190

ศึกษาอยุ่ชั้นม.4/9 โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา

สีที่ชอบ ฟ้า ชมพู

อาหารที่ชอบ ส้มตำ ต้มยำ

สัตว์ที่ชอบ สุนัข

ของสะสม หมีพูห์

กีฬาที่ชอบ แบตมินตัน


ติดต่อ * Facebook.ณัฐณิชา ชินวงศ์
           *Email.nut12011@windowslive.com
                       natnicha.natt@ gmail.com

            *โทร. 0816085878




ประวัติรัฐธรรมนูญไทย


รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นกฎหมายลำดับศักดิ์สูงสุดแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายอื่นใดจะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญไม่ได้ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองของประเทศ ซึ่งตั้งแต่ปีพ.ศ. 2475 ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญแล้วทั้งสิ้น 18 ฉบับ อันแสดงให้เห็นถึงความขาดเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
รัฐธรรมนูญไทยระบุว่าประเทศไทยมีรูปแบบรัฐเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา (เขียนว่า ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) กำหนดให้มีการแบ่งแยกอำนาจระหว่างอำนาจนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ ปัจจุบัน ประเทศไทยใช้ระบบสองสภา แตกต่างจากในอดีตที่ใช้ระบบสภาเดี่ยว รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับกำหนดให้ผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้งและการแต่งตั้งแตกต่างกันไป เช่นเดียวกับพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์

การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475

ฉันรู้สึกเสียดายอย่างยิ่งที่เขามิได้คิดจะถอดฉัน และฉันยังเสียใจอยู่จนบัดนี้ ความรู้สึกขั้นแรกก็คือจะลาออกทันที แต่สมเด็จกรมพระสวัสดิ์ฯ แนะนำว่าไม่ควรทำ เพราะถ้าทำเช่นนั้นอาจมีการรบกันจนนองเลือดทั้งยุ่งยากต่างๆ จนอาจมีฝรั่งเข้ามายุ่งและชาติเราอาจเสียอิสรภาพได้...
ถ้าเราจะรบโดยใช้ทหารหัวเมืองหรือ นั่นเป็นของแน่ที่เราอาจทำได้ แต่ฉันไม่ยินยอมเลยแม้แต่ชั่วขณะเดียว เพราะเจ้านายในกรุงเทพฯ อาจจะถูกฆ่าหมด ฉันรู้สึกว่าฉันจะนั่งอยู่บนราชบัลลังก์ที่เปื้อนโลหิตไม่ได้... สมเด็จกรมพระสวัสดิ์ฯ แนะนำตลอดเวลาว่าให้ยินยอมกลับกรุงเทพฯ และช่วยคณะราษฎรจัดตั้งการปกครอง โดยมีกษัตริย์และรัฐธรรมนูญ ซึ่งก็เป็นของที่ฉันเคยอยากจะทำมานานแล้ว แต่ว่าฉันเสียขวัญ
ต่อมา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก่เจ้าพระยาพิชัยญาติ (ดั่น บุนนาค) ประธานสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 หลังจากนั้น ทรงสละราชสมบัติ ในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 ขณะทรงประทับอยู่ที่สหราชอาณาจักร หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเพียงปีเศษ โดยทรงมีเหตุผลในการตัดสินพระทัย ตามความในพระราชหัตถเลขา ดังนี้ [3]
ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจ อันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้า ให้แก่ผู้ใด คณะใด โดยเฉพาะ เพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร
บัดนี้ ข้าพเจ้าเห็นว่า ความประสงค์ของข้าพเจ้า ที่จะให้ราษฎรมีสิทธิออกเสียง ในนโยบายของประเทศไทยโดยแท้จริงไม่เป็นผลสำเร็จ และเมื่อข้าพเจ้ารู้สึกว่า บัดนี้ เปนอันหมดหนทาง ที่ข้าพเจ้าจะช่วยเหลือ ให้ความคุ้มครองแก่ประชาชนได้ต่อไปแล้ว ข้าพเจ้าจึงขอสละราชสมบัติ และออกจากตำแหน่งพระมหากษัตริย์ แต่บัดนี้เปนต้นไป ข้าพเจ้าขอสละสิทธิของข้าพเจ้าทั้งปวง ซึ่งเปนของข้าพเจ้าอยู่ในฐานะที่เปนพระมหากษัตริย์ แต่ข้าพเจ้าสงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งปวง อันเปนของข้าพเจ้าแต่เดิมมา ก่อนที่ข้าพเจ้าได้รับราชสมบัติสืบสันตติวงศ์

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทั้งหมด


รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
รัฐธรรมนูญ ฉบับแรกของไทย มีชื่อว่า “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475” จากนั้น ราชอาณาจักรไทย ก็ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญมาตามลำดับ ดังนี้ [4]
  1. พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475
  2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม
  3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489
  4. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 [5] รัฐธรรมนูญตุ่มแดง หรือ รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม
  5. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492
  6. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495
  7. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502
  8. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511
  9. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515
  10. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517
  11. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519
  12. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520
  13. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521
  14. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534
  15. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534
  16. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
  17. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549
  18. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

ข้อวิจารรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบางฉบับมีการให้อำนาจฝ่ายบริหารโดยไม่มีการถ่วงดุล ทำให้ฝ่ายบริหารมีความเฉียบขาดในการจัดการเรื่องต่าง ๆ ด้วยตนเอง ซึ่งอาจทำให้เกิดความฉับไวในการแก้ไขปัญหาเร่งด่วน แต่ก็นำมาซึ่งการใช้อำนาจรัฐในทางที่ผิดโดยมีการสั่งลงโทษประหารชีวิตผู้บริสุทธิ์ไปแล้วเป็นจำนวนมาก

มีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยถึง 4 ฉบับที่มีบทบัญญัติดังกล่าว ซึ่งในฉบับต่อๆ มานั้นหมายเลขมาตราได้เลื่อนไป แต่ผู้คนก็ยังนิยมกล่าวถึงกรณีการใช้อำนาจเด็ดขาดของนายกรัฐมนตรีว่า "ใช้อำนาจตามมาตรา 17"[ต้องการอ้างอิง]
ซึ่งมีบทบัญญัติดังนี้
มาตรา ๑๗ ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีเห็นเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการป้องกัน ระงับหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักร ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน หรือการกระทำอันเป็นการก่อกวนหรือคุกคามความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี ของประชาชน หรือการกระทำอันเป็นการทำลายทรัพยากรของประเทศ หรือเป็นการบั่นทอนสุขภาพอนามัยของประชาชนทั้งนี้ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นก่อนหรือหลังวันใช้ธรรมนูญการปกครองนี้และไม่ว่าจะเกิดขึ้น ภายในหรือภายนอกราชอาณาจักร ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีและของสภานโยบายแห่งชาติ มีอำนาจสั่งการหรือกระทำการใดๆ ได้ และให้ถือว่าคำสั่งหรือการกระทำของนายกรัฐมนตรีรวมทั้งการปฏิบัติตามคำสั่ง ดังกล่าวเป็นคำสั่งหรือการกระทำหรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อนายกรัฐมนตรีได้สั่งการหรือกระทำ การใดไปตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ นายกรัฐมนตรีแจ้งให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติทราบ
กรณีการใช้อำนาจตามมาตรา 17 เช่น
  • การปราบปรามคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย
  • การสั่งประหารชีวิตบ้านต้นเพลิงที่ตลาดพลู
  • การสั่งยึดทรัพย์จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ โดย จอมพลถนอม กิตติขจร
  • การสั่งยึดทรัพย์จอมพลถนอม กิตติขจร โดย นายสัญญา ธรรมศักดิ์

เขาพระวิหาร


เขาพระวิหาร
















มติเอกฉันท์ “ศาลโลก” พิพากษาไทยแพ้คดีพระวิหาร รับมีอำนาจวินิจฉัยคำพิพากษาปี 2505 ชี้พื้นที่บริเวณโดยรอบปราสาทอยู่ในเขตอธิปไตยกัมพูชาเช่นเดียวกับตัวปราสาทฯ สั่งไทยถอนกำลังทหาร-ตำรวจ ออกจากพื้นที่พิพาท เตือน ประเด็นพื้นที่ 4.6 ตร.กม. ให้ 2 ประเทศร่วมประชุมหารือจัดการพื้นที่ร่วมกันหลังขึ้นเป็นมรดกโลก ท่ามกลาง “ยูเนสโก” เข้ามาควบคุมดูแล ด้าน “ทูตวีรชัย” เผยกัมพูชา ไม่ได้รับพื้นที่ 4.6 ตร.กม.ตามคำขอในสำนวน ได้เพียงพื้นที่แคบ ๆ รอบปราสาทและศาลไม่ได้ชี้ขาดเรื่องเส้นเขตแดน ด้านนายกฯฮุนเซน ได้ทีไล่บี้ไทยถอนกำลังทหาร ขณะที่นายกฯปู จัดทีมเจรจา ยืนยันปกป้องอธิปไตยเต็มที่
เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 11 พ.ย. ตามเวลาท้องถิ่น ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ องค์คณะผู้พิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ซึ่งประกอบด้วยองค์คณะผู้พิพากษาจำนวน 17 คน ได้อ่านคำพิพากษา กรณีกัมพูชายื่นขอให้ศาลโลกตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารปี 2505 โดยมีคณะของกัมพูชา และคณะฝ่ายไทยนำโดย นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมช.กลาโหม นายวีรชัย พลาศรัย ในฐานะตัวแทนไทยดำเนินการทางกฎหมายปราสาทพระวิหาร พร้อมทีมงานเข้าร่วมรับฟัง
นายปีเตอร์ ทอมกา ประธานศาลโลก กล่าวความเป็นมาของคำตัดสินคดีปราสาทพระวิหาร ระบุว่า กัมพูชาได้ยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 2011 อ้างถึงมาตรา 60 และ 98 ของธรรมนูญศาล และ ร้องขอให้ศาลตีความปราสาทพระวิหาร วันเดียวกันกัมพูชาอ้างมาตรา 96 และ 73 ของศาล ขอให้มีมาตรการชั่วคราวเพราะมีการล่วงล้ำของประเทศไทยเข้าสู่ดินแดนกัมพูชา ต่อมาศาลมีมาตรการชั่วคราวให้แก่ทั้งสองฝ่ายในปี 2011
โดยจะขอเริ่มต้นอ่านคำพิพาษาในวรรคที่ 14 ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในเงื้อมผาเทือกเขาพนมดงรัก ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นพรมแดนสองประเทศคือ กัมพูชาตอนใต้ และไทยตอนเหนือ ในเดือน ก.พ. 1904 กัมพูชาอยู่ใต้อารักขาของรัฐฝรั่งเศส ที่เทือกเขาพนมดงรักเป็นไปตามสันปันน้ำ ซึ่งเป็นไปตามการประกาศของคณะกรรมการเตรียมการ เรื่องงานที่เสร็จสิ้นคือ การเตรียมการและตีพิมพ์เผยแพร่แผนที่ที่ได้รับ ซึ่งภารกิจนั้นมอบให้เจ้าหน้าที่ฝรั่งเศส 4 นาย ต่อมาในปี 1907 ทีมก็ได้เตรียมแผนที่ 17 ระหว่าง อินโดจีนกับไทย และมีแผนที่ขึ้นมา มีคณะกรรมการปักปันระหว่างอินโดจีนกับสยาม ทำให้พระวิหารตกอยู่ในดินแดนกัมพูชา หลังจากที่กัมพูชาประกาศอิสรภาพ ปี 1953 ต่อมาประเทศไทยได้ยึดครองปราสาทในปี 1954 แต่การเจรจาไม่เป็นผล ปี 1959 กัมพูชาร้องต่อศาล และไทยก็คัดค้านตามมา และศาลปฏิเสธการรับฟังของไทย และมีคำพิพาทเกิดขึ้นจริง ซึ่งเทือกเขาดงรักที่เรียกว่า แผนที่ภาคผนวก 1 นั้น อยู่ในกัมพูชา โดยมีผลบังคับระหว่างรัฐประเทศตามที่กัมพูชากล่าวอ้าง แต่ในแง่การมีผลผูกพันเหตุการณ์ระหว่างสองประเทศต้องยืนยันตามสันปันน้ำ
ศาลพูดถึงข้อปฏิบัติการในคำพิพากษา ตัดสินว่า พระวิหารอยู่ในอธิปไตยของกัมพูชา และไทยมีผลผูกพัน หรือในบริเวณข้างเคียง และมีพันธกรณีที่ต้องนำวัตถุทั้งหลายที่ได้นำออกไปให้นำส่งคืน หลังจากมีคำพิพากษา 1962 ไทยก็ได้ถอนกำลังออกจากพระวิหาร และมีการทำรั้วลวดหนาม หลังจากที่เป็นไปตามมติครม.ของไทยในวันที่ 11 ก.ค. 1962 แต่ไม่มีการตีพิมพ์เผยแพร่
ทั้งนี้ ศาลระบุว่า กัมพูชาได้ยื่นคำร้องต่อศาลซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นในเวลาหลังจากที่คำพิพากษา เป็นต้นมา ในมุมมองของไทยคือ ได้ออกจากบริเวณปราสาทและไทยได้กำหนดฝ่ายเดียวว่า เขตพระวิหารอยู่ที่ใดซึ่งตามคำพิพากษาในปี 1962 ได้กำหนดตำแหน่งเขตปราสาท ที่ไทยต้องถอนและได้จัดทำรั้วลวดหนาม ปราสาทไม่ได้เกินไปกว่าเส้นกำหนดตามกัมพูชาประท้วงว่า ไทยถอนกำลังออกไปนั้นก็ได้ยอมรับว่า ปราสาทเป็นของกัมพูชาจริง แต่กัมพูชาได้ร้องว่า ไทยสร้างรั้วรุกไปในดินแดนกัมพูชาซึ่งไม่เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลและในมุมมองของกัมพูชาต้องการเสนอยูเนสโก แสดงให้เห็นว่า ทั้งสองมีข้อพิพาทในความหมายและขอบเขตในคำพิพากษาปี 1962 จริง
ศาลได้ดูสาระข้อพิพาทเพื่อให้แน่ใจว่า เป็นไปตามขอบเขตอำนาจศาล ม.60 ตามธรรมนูญศาลหรือไม่และเห็นว่าสองฝ่ายขัดแย้งกัน ซึ่งในข้อพิพาท 1962 ที่บอกว่า คำพิพากษามีผลบังคับใช้เป็นเส้นแบ่งเขตแดนสองประเทศ การพิจารณาครั้งนี้ศาลพิจารณาในจุดยืนของฝ่ายที่แสดงออกมาคือ ตามคำขอของกัมพูชา คือ มีสถานที่และได้ต่อสู้เพื่อขึ้นทะเบียนมรดกโลกก็มีมุมมองต่างกันของขอบเขตและบริเวณดินแดน
โดยข้อที่ 1 ศาลเข้าใจว่า ปราสาทอยู่ในดินแดนกัมพูชา ท้ายที่สุดศาลก็ได้ดูเรื่องปัญหาที่สองฝ่ายเห็นต่างคือ พันธกรณีการถอนกำลังออกจากปราสาท ในดินแดนของกัมพูชา และให้ข้อพิพากษาเรื่องการสื่อสารการเข้าใจของสองประเทศในการนำปราสาทพระวิหารขึ้นทะเบียนมรดกโลกและการปะทะแสดงว่า มีความเข้าใจที่แตกต่างกันจริง คำพิพากษามีความสำคัญ 3 แง่ คือ คำพิพากษาไม่ได้ตัดสินว่า มีข้อผูกพันเป็นเขตแดนระหว่างสองประเทศหรือไม่ 2.มีความสัมพันธ์กรณีความหมายและขอบเขตของวลีที่ว่า บริเวณใดเป็นของกัมพูชา และ 3.มีข้อพิพาทในกรณีให้ไทยถอนกำลัง คือ เป็นไปตามข้อปฏิบัติข้อที่สอง
เมื่อกัมพูชาได้ร้องขอ ศาลจึงรับคำร้องขอของกัมพูชา ศาลเห็นว่ามีข้อพิพาทของทั้งสองฝ่าย ตามข้อ 60 ของธรรมนูญศาล ด้วยเหตุนี้ศาลจึงมีอำนาจรับไว้พิจารณา ศาลจึงคำนึงถึงข้อ 60 ทำให้ขอบเขตมีความชัดเจนขึ้น ด้วยเหตุนี้ศาลจึงต้องดูอยู่ภายใต้ขอบเขตเคร่งครัด ไม่สามารถหยิบเรื่องที่ได้ข้อยุติไปแล้ว ดังนั้น การพิจารณาขอบเขตและความหมายจึงยึดถือข้อปฏิบัติที่ผ่านมา ซึ่งประเทศไทยได้ต่อสู้ว่า หลักการกฎหมาย ห้ามไม่ให้ศาลตีความเกินการตีความในปี 1962 และได้ถูกกล่าวย้ำในข้อต่อสู้ของคู่ความ อย่างไรก็ตาม ศาลไม่สามารถตีความที่ขัดแย้งกับคำพิพากษาในปี 1962 ได้ และกัมพูชาเห็นว่า ข้อสรุปในปี 1962 ทำให้เห็นว่า ศาลได้วินิจฉัยประเด็นต่าง ๆ ตามข้อวินิจฉัยในปี 1962 และขณะนั้นได้ใช้ข้อ 74 เป็นข้อบังคับในขณะนั้น ซึ่งไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษา และบทสรุปเป็นเพียงบทสรุปของคำวินิจฉัย ไม่ถือเป็นปัจจัยที่มีผล กระทบต่อหลักปฏิบัติ
ประเทศไทยยังได้กล่าวอ้างถึงพฤติกรรมของปี 1962 และเดือน ธ.ค. 2008 ที่มีเหตุการณ์ปะทุขึ้นมา คำพิพากษาไม่ถือว่า เป็นสนธิสัญญา หรือตราสารที่ผูกพันคู่ความ การตีความที่อาจจะมีผลกระทบกับพฤติกรรมต่อ ๆ ไป ดูได้จากสนธิสัญญา ณ กรุงเวียนนา การตีความจะดูว่าศาลได้พิพากษาอะไร ขอบเขตและความหมายไม่อาจที่จะเปลี่ยนแปลงไปของพฤติกรรมของคู่ความ และการตีความศาลจะไม่พิจารณาในประเด็นนั้น มีลักษณะ 3 ประการในคำพิพากษา 1962
1. พิจารณาว่า เป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยของที่ตั้งปราสาทพระวิหาร และศาลไม่มีหน้าที่ปักปันเขตแดน ศาลจึงกลับไปดูคำพิพากษา 1962 โดยดูในคำคัดค้าน ว่า เป็นเขตอำนาจอธิปไตยมากกว่าเขตแดน ดังนั้น ข้อเรียกร้อง 1-2 ของกัมพูชาในภาคผนวก 1 ศาลจะรับเท่าที่เป็นเหตุ โดยไม่มีการกล่าวถึงภาคผนวก 1 หรือสถานที่ของเขตแดน ไม่มีการแนบแผนที่ในคำพิพากษา ประเด็นต่าง ๆ ที่คู่ความได้กล่าวอ้างก็มีความสำคัญในการกำหนดเขตแดน
2.แผนที่ภาคผนวก 1 ประเด็นที่แท้จริงคือ คู่ความได้รับรองแผนที่ภาคผนวก 1 และเส้นแบ่งเขตแดน ที่เป็นผลจากคณะกรรมการปักปันเขตแดน และมีผลผูกพันหรือไม่ ศาลได้ดูพฤติกรรมของคู่ความในการเสด็จของสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ไปเยี่ยมชมปราสาทพระวิหารก็เหมือนการยอมรับโดยอ้อมของสยามในอธิปไตย ถือเป็นการยืนยันของประเทศไทยในเส้นแบ่งแดนภาคผนวก 1 ในปี 1908 และ 1909 ยอมรับในแผนที่ และยอมรับว่า เส้นแบ่งเขตแดนเป็นเส้นแบ่งเขตแดนที่นำไปสู่การยอมรับว่า ปราสาทพระวิหารอยู่ในกัมพูชา ทำให้แผนที่ภาคผนวกอยู่ในสนธิสัญญา จึงเห็นว่าการตีความสนธิสัญญาจึงต้องชี้ขาดว่า เขตแบ่งตามแผนที่ 1
3. ศาลมีความชัดเจนว่า ศาลดูเฉพาะบริเวณรอบปราสาทฯ เท่านั้น ซึ่งเป็นบริเวณที่เล็กมาก และในปี 1962 กัมพูชากล่าวว่า ขอบเขตพิพาทนั้นเล็กมาก และถ้อยแถลงอื่น ๆ ก็ไม่มีอะไรขัดแย้งกันในปี 1962 และทันทีหลังจากมีคำพิพากษา ศาลได้อธิบายว่า ปราสาทพระวิหารอยู่ทางตะวันออกของเทือกเขาดงรัก ในทางทั่วไปถือว่า เป็นเขตแดนของทั้งสองประเทศ ศาลเห็นว่าปราสาทอยู่ในอธิปไตยของกัมพูชา แต่ต้องกลับมาในบทปฏิบัติการ 2 และ 3 ที่เห็นว่า ผลของคำพิพากษาที่ 1 ตำรวจที่ปฏิบัติการในปราสาทพระวิหารหรือบริเวณใกล้เคียงไม่มีการพูดถึงการถอนกำลัง และไม่มีการกล่าวถึงว่า หากถอนกำลังต้องถอนไปที่ใด พูดเพียงปราสาทและบริเวณใกล้เคียง ไม่มีการกำหนดว่า เจ้าหน้าที่ใดของไทยต้องถอน พูดเพียงว่าเจ้าหน้าที่ที่เฝ้ารักษาการณ์หรือดูแล ศาลจึงเห็นว่าจะต้องเริ่มจากดูหลักฐานที่อยู่ต่อหน้าศาล และพยานหลักฐานเดียวคือ พยานหลักฐานที่ฝ่ายไทยได้นำเสนอ ซึ่งได้มีการเยือนไปยังปราสาทในปี 1961 แต่ในการซักค้านของฝ่ายกัมพูชา พยานเชี่ยวชาญของไทยบอกว่า มีแค่ผู้เฝ้ายาม 1 คน และตำรวจ มีการตั้งแคมป์ และไม่ไกลมีบ้านพักอยู่ และทนายฝ่ายไทย กล่าวว่า สถานีตำรวจอยู่ทางใต้ของแผนที่ภาคผนวก 1
ต่อมาปี 1962 กัมพูชาได้เสนอข้อต่อสู้ว่า จะต้องใช้เส้นสันปันน้ำในการปักปันเขตแดน แต่ศาลเห็นว่า ไม่จำเป็นต้องใช้สันปันน้ำ ซึ่งฝ่ายไทยเห็นว่า สำคัญ เพราะการแบ่งเส้นต่าง ๆ มีความใกล้เคียงกันสันปันน้ำ การที่สถานีตำรวจตั้งใกล้สันปันน้ำ เป็นไปตามมติ ครม. เมื่อศาลสั่งให้ไทยถอนกำลัง ก็น่าจะมีความประสงค์ให้เจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ตามคำเบิกความของไทย เนื่องจากไม่มีหลักฐานว่า มีเจ้าหน้าที่อื่นใด จึงเห็นว่าควรยาวไปถึงสถานที่ตั้งมั่นของสถานีตำรวจ เส้นแบ่งเขตแดนตามมติ ครม. จึงไม่ถือว่า เป็นเส้นแบ่งเขตแดน ศาลจึงเห็นว่า ชัดเจนมากตามภูมิศาสตร์ ที่ภาคตะวันตกเฉียงใต้มีหน้าผาที่ชัน และตะวันตกเฉียงเหนือก็เป็นที่ที่อยู่ในเทือกเขาดงรัก หุบเขาทั้งสองนี้เป็นช่องทางที่กัมพูชาสามารถเข้าถึงปราสาท ดังนั้น การทำความเข้าใจใกล้เคียงพระวิหาร ศาลจึงเห็นว่า เขตแดนกัมพูชาทางเหนือไม่เกินเส้นแบ่งเขตแดนตามภาคผนวก 1 และไม่ได้ระบุระยะที่ชัดเจน
ศาลสรุปว่าชะโงกหน้าผาที่อยู่เหนือแผนที่ภาคผนวก 1 อยู่ภายใต้อธิปไตยกัมพูชา และศาลถือเป็นหัวใจของข้อขัดแย้งครั้งนี้ ทั้ง 2 ฝ่ายต้องดำเนินการตามพันธกรณีด้วยความเคารพ ทั้งนี้กัมพูชามีอธิปไตยเหนือพื้นที่ปราสาทพระวิหาร ดังนั้น ไทยยังมีพันธกรณีถอนกำลังทหาร ตำรวจ ออกจากบริเวณเหล่านั้นกัมพูชาและไทย ต้องคุยกันเองโดยมียูเนสโก ควบคุมในฐานะมกดกโลก ภายใต้บริเวณนี้ ขอสรุปว่ากัมพูชามีอำนาจเหนือชะโงกหน้าผา ไทยต้องถอนกำลังทหารในพื้นที่เหล่านั้น
ด้วยเหตุเหล่านี้ ศาลมีมติเอกฉันท์ การขอตีความคดีของกัมพูชา ศาลมีอำนาจรับฟ้อง คำพิพากษา 15 มิ.ย. 1962 พิพากษา กัมพูชามีอธิปไตยในดินแดนทั้งหมดเหนือปราสาทพระวิหาร ไทยต้องถอน กำลัง ทหาร ตำรวจ และกำลังอื่น ทั้งหมดออกจากบริเวณดังกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าศาลโลกได้ใช้เวลาอ่านคำพิพากษาเป็นเวลาประมาณ 53 นาที
ต่อมา นายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทย กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในฐานะหัวหน้าทีมทนายความต่อสู้คดีปราสาทพระวิหาร แถลงภายหลัง ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือ ศาลโลก ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีคำพิพากษา คดีที่กัมพูชาได้ร้องขอให้ตีความคำพิพากษาเดิม กรณีปราสาทพระวิหาร เมื่อปี 2505 โดยระบุว่า 1. ศาลพิพากษาว่ามีอำนาจพิจารณาตีความคำร้องของกัมพูชา
นายวีรชัย กล่าวอีกว่า 2. ศาลไม่ได้ตัดสินเรื่องเขตแดน โดยกัมพูชาไม่ได้รับ 4.6 ตารางกิโลเมตร หรือ 4.7 ตารางกิโลเมตร หรือ ภูมะเขือ เว้นแต่บริเวณที่แคบมาก ๆ ซึ่งสองฝ่ายต้องหารือกัน 3.ที่สำคัญมากคือศาลไม่ได้ระบุว่า แผนที่ 1 ต่อ 2 แสนตารางกิโลเมตรเป็นส่วนหนึ่งของคำตัดสินเมื่อปี 2505 ทั้งนี้ศาลโลกได้แนะนำให้ทั้งสองฝ่ายร่วมกันดูแลปราสาทพระวิหารในฐานะมรดกโลก
ด้านนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.การต่างประเทศ กล่าวเพียงสั้น ๆ ว่า ผลการตัดสินของศาลโลกออกมาเป็นที่น่าพอใจของทั้งสองฝ่าย โดยไทยกับกัมพูชาจะหารือในคณะกรรมาธิการร่วมระดับทวิภาคีต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า เวลาประมาณ 18.00 น. (ตามเวลาประเทศไทย) หรือราว 12.00 น. (ตามเวลาในกรุงเฮก) ศาลได้เปิดเผยรายละเอียดคำพิพากษาอย่างละเอียด เป็นภาษาอังกฤษ มีความยาว 39 หน้าด้วยกัน โดยสามารถอ่านคำพิพากษาฉบับเต็มได้ที่ http://www.icj-cij.org/docket/files/151/17704.pdf
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงเฮก ว่า ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือ ไอซีเจ ของสหประชาชาติ ณ กรุงเฮก มีคำวินิจฉัยชี้ขาดคดีพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชาเมื่อวันจันทร์ ว่า พื้นที่รอบ ๆ โบราณสถานปราสาทพระวิหารบนเขตแดนไทย เป็นของกัมพูชา
โดยผู้พิพากษาหัวหน้าคณะ ปีเตอร์ ทอมกา กล่าวว่า องค์คณะผู้พิพากษามีมติเป็นเอกฉันท์ โดยอาศัยการตีความตามคำพิพากษาปี พ.ศ. 2505 ของ ไอซีเจ ซึ่งระบุว่า กัมพูชามีอำนาจอธิปไตยเหนือพื้นที่ทั้งหมดของยอดแหลมเขาพระวิหาร ดังนั้นฝ่ายไทยจึงมีพันธกรณีที่จะต้องถอนกำลังทหาร ตำรวจ หรือหน่วยรักษาความปลอดภัยทั้งหมด ออกพ้นจากพื้นที่ดังกล่าว
ทั้งนี้เมื่อปีที่แล้ว ไอซีเจ หรือ ศาลโลก มีคำตัดสินว่าทั้งไทยและกัมพูชา ควรถอนกำลังทหารออกจากพื้นที่พิพาท ซึ่งเป็นยอดแหลมอยู่เหนือหน้าผาในกัมพูชา แต่สามารถเข้าถึงได้ง่ายกว่าจากฝั่งไทย ในที่สุดไทยและกัมพูชาสั่งถอนทหารหลายร้อยนายออกจากพื้นที่พิพาทในเดือน ก.ค. 2555 โดยนำเจ้าหน้าที่ตำรวจและหน่วยรักษาความปลอดภัยเข้าไปประจำการแทน
รายงานระบุอีกว่า นายฮอร์ นัมฮง รัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชา ซึ่งอยู่ในศาลด้วยระหว่างการอ่านคำพิพากษา ได้กล่าวต่อบรรดาผู้สื่อข่าวภายหลังว่า เป็นคำตัดสินที่ดีมาก ทั้งนี้ คำวินิจฉัยของ ไอซีเจ ในครั้งนี้มีผลผูกพันตามกฎหมาย และไม่สามารถยื่นอุทธรณ์คัดค้านได้
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า สมเด็จ ฮุนเซน นายกรัฐมนตรีของกัมพูชา โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ใจความว่า ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศตัดสินว่า กัมพูชาควรได้สิทธิอธิปไตยเหนือพื้นที่พิพาทโดยรอบปราสาทพระวิหาร และมีคำสั่งให้ไทยถอนกำลังออกจากพื้นที่บริเวณนั้น พร้อมระบุคำตัดสินของผู้พิพากษา ปีเตอร์ ทอมกา ประธานศาลโลกว่า “กัมพูชามีอธิปไตยเหนือตัวปราสาทพระวิหารและพื้นที่โดยรอบ ดังนั้น ไทยจึงต้องถอนกำลังทหาร ตำรวจ การ์ด และผู้ดูแลทั้งหมดออกจากพื้นที่โดยรอบตัวปราสาทพระวิหาร”
ที่ทำเนียบรัฐบาล ตึกสันติไมตรี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม แถลงการณ์ผ่านรายการโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ภายหลังที่ศาลโลกอ่านคำพิพากษาตีความกรณีพื้นที่ทับซ้อนระหว่างไทย กับ กัมพูชา จากศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ว่า รัฐบาลเห็นว่าเป็นคำพิพากษาที่ให้ความสำคัญกับการที่ 2 ประเทศจะต้องเจรจากันและมีหลายส่วนที่เป็นคุณกับประเทศไทย
โดยมีประเด็นหลัก ๆ ดังนี้ 1. ศาลรับฟังข้อต่อสู้ของไทย และได้ตัดสินยืนยันที่จะตัดสินภายในขอบเขตของคำพิพากษาเดิมเมื่อปี 2505 2.ศาลรับฟังข้อต่อสู้ของไทยโดยยืนยันว่าคำพิพากษาเดิมเมื่อปี 2505 นั้นไม่ได้ตัดสินเกี่ยวกับประเด็นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา เพราะเป็นประเด็นที่อยู่นอกเหนือจากคำพิพากษาเดิม ซึ่งหมายความว่าศาลไม่รับพิจารณาข้อเรียกร้องของกัมพูชาเหนือพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรและที่สำคัญศาลไม่ได้ตัดสินว่าแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสนผูกพันกับไทย โดยผลของคำพิพากษาเมื่อปี 2505
3.ศาลรับตีความในประเด็นเฉพาะที่เกี่ยวกับพื้นที่บริเวณใกล้เคียงปราสาทตามคำพิพากษาเดิมเมื่อปี 2505 โดยศาลอธิบายว่าเป็นพื้นที่ขนาดเล็กมาก ซึ่งกำหนดขึ้นตามสภาพภูมิศาสตร์ที่ประกอบขึ้นเป็นยอดเขาพระวิหาร โดยไม่ได้กำหนดเส้นเขตแดน และที่สำคัญไม่ร่วมพื้นที่ภูมะเขือ ซึ่งในส่วนของพื้นที่บริเวณใกล้เคียงปราสาทนี้ทั้ง 2 ประเทศจำเป็นต้องหารือกันในรายละเอียดต่อไปโดยกลไกทวิภาคีที่มีอยู่ 4.ศาลได้แนะนำให้ความสำคัญกับการที่ทั้ง 2 ฝ่ายจะร่วมมือกันในการอนุรักษ์และพัฒนาปราสาทพระวิหารในฐานะที่เป็นมรดกโลก
ดังนั้นรัฐบาลได้สั่งให้ทีมที่ปรึกษากฎหมายศึกษารายละเอียดและสาระสำคัญของคำพิพากษาเพื่อนำข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะไปประกอบพิจารณา ดำเนินการของรัฐบาลต่อไป ต่อจากนั้นไทยและกัมพูชาจะต้อองเจรจาหารือภายใต้กลไกที่มีอยู่ระหว่างทั้ง 2 ประเทศเพื่อให้ได้ข้อยุติ ให้เป็นที่ยอมรับของทั้ง 2 ฝ่าย และจะคำนึงถึงขั้นตอนและกระบวนการของกฎหมายและบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
“ยืนยันว่า การดำเนินการของรัฐบาลจะรักษาอธิปไตยและผลประโยชน์ของประเทศเป็นที่ตั้ง รวมทั้งเกียรติภูมิของชาติและความเป็นประชาคมอาเซียน พร้อมกันนี้รัฐบาลได้สั่งการและกำชับให้ฝ่ายทหารและเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงยังคงรักษาความสงบเรียบร้อยในบริเวณชายแดน รักษาอธิปไตยและดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินขิงประชาชนในพื้นที่ เพื่อสันติภาพ สันติสุข และความสงบเรียบร้อย ดังนั้นทั้ง 2 ประเทศจึงจำเป็นที่จะต้องร่วมมือกันเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนทั้ง 2 ประเทศ” นายกรัฐมนตรี กล่าว และว่า ในวันที่ 12 พ.ย.จะนำเอาผลการตัดสินของศาลโลกเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.).
ข้อมูลจำเพาะ : กรณีพิพาทเขตแดนกลุ่มอาเซียน
ข้อพิพาททางทะเลที่เกิดขึ้นกับชาติสมาชิกอาเซียน (สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) อยู่ที่เขตทะเลจีนใต้ ซึ่งมีหลายชาติไม่ว่าจะเป็น ฟิลิปปินส์ เวียดนาม มาเลเซีย และ บรูไน รวมไปถึงไต้หวันและชาติมหาอำนาจอย่างจีน ต่างอ้างกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนบางส่วนในหมู่เกาะและเกาะแก่งต่างๆ เช่น หมู่เกาะสแปรตลีย์ในเขตทะเลจีนใต้ ซึ่งมีรายงานว่า มีแหล่งทรัพยากรที่สำคัญอย่างน้ำมัน และ แก๊สธรรมชาติ รวมไปถึงการเป็นเส้นทางสัญจรทางทะเลที่สำคัญสำหรับเรือบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่ และพื้นที่ทำการประมง
ชาติสมาชิกอาเซียนได้นำปัญหานี้เข้าสู่ที่ประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนมาแล้วทุกครั้ง เพื่อให้บรรลุซึ่งพันธกรณีว่าด้วยระเบียบปฏิบัติทางทะเล ไม่ให้เกิดข้อพิพาทรุนแรงถึงขั้นการทำสงคราม โดยเฉพาะกับชาติมหาอำนาจอย่างจีน ซึ่งกำลังขยายแสนยานุภาพทางทะเล เช่น มีเรือบรรทุกเครื่องบินไว้ประจำการในกองทัพ เป็นการสร้างดุลแห่งอำนาจ อย่างไรก็ตาม ชาติสมาชิกอาเซียนก็ไม่เคยนำข้อพิพาททางทะเลนี้ขึ้นสู่การพิจารณาและตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ

วันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย


 

      ผลการนับคะแนนเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ ระบุว่า พรรคร่วมรัฐบาล “แนวร่วมแห่งชาติ” 13 พรรค ที่นำโดยพรรคองค์การสหมาเลย์แห่งชาติ ( อัมโน ) ของนาจิบ สามารถคว้าที่นั่งในรัฐสภาได้ถึง 133 ที่นั่ง จาก 222 ที่นั่ง ขณะที่พรรคแนวร่วม “ปากาตัน รัคยัต” หรือพรรคแนวร่วมฝ่ายค้าน 3 พรรค นำโดยพรรคความยุติธรรมปวงชน ( พีเคอาร์ ) ของอันวาร์ ได้ไป 89 ที่นั่ง โดยมีผู้มาใช้สิทธิ์ลงคะแนนมากถึง 10 ล้านคน จากทั้งหมด 13 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 80 ซึ่งสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์
ทว่านาจิบถือเป็นนายกรัฐมนตรีมาเลเซียคนแรกในประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ประเทศได้รับเอกราชจากอังกฤษ เมื่อปี 2500 ที่ได้รับคะแนนนิยมประชาชนน้อยกว่าผู้สมัครจากพรรคแนวร่วมฝ่ายค้าน คือ 5.22 ต่อ 5.48 ล้านคะแนน อย่างไรก็ตาม ผู้นำมาเลเซียวัย 59 ปี ประกาศชัยชนะและขอให้ทุกฝ่ายยอมรับผลการเลือกตั้งที่ออกมา ที่เป็นการตัดสินใจโดยบริสุทธิ์ของประชาชน เพื่อความปรองดองและสมานฉันท์ในอนาคต

      ขณะที่อันวาร์ วัย 65 ปี ปฏิเสธยอมรับความพ่ายแพ้ พร้อมกับประณามการเลือกตั้งครั้งนี้ ว่าเต็มไปด้วยการทุจริต ดังนั้น ผลคะแนนที่ออกมาจึงไม่มีความโปร่งใส่พอ แม้ปากาตัน รัคยัต จะได้ที่นั่งเพิ่มขึ้นจากการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อ 5 ปีก่อนถึง 14 ที่นั่งก็ตาม แต่ก็ต้องสูญเสียที่นั่ง 1 ใน 4 รัฐที่เคยแย่งชิงมาจากฝ่ายรัฐบาล กลับคืนไปให้นาจิบในการเลือกตั้งครั้งนี้ ทั้งนี้ มาเลเซียแบ่งการปกครองออกเป็น 13 รัฐ
ด้านนายเจมส์ ชิน ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ในสิงคโปร์ แสดงทรรศนะเกี่ยวกับการเลือกตั้งของมาเลเซียครั้งนี้ว่า เป็นการต่อสู้กันอย่างสูสีที่สุด เนื่องจากนอกเหนือจากแรงกดดันภายนอกแล้ว ทั้งนาจิบและอันวาร์ต่างต้องเผชิญแรงเสียดทานภายในพรรคไม่แพ้กัน โดยนาจิบต้องการแย่งชิงที่นั่งที่เสียไปเมื่อปี 2551 กลับคืนมาให้ได้มากที่สุด เพื่อเรียกคืนความเชื่อมั่นจากสมาชิกพรรค ซึ่งแม้จะทำไม่ได้ แต่อย่างน้อยพรรครัฐบาลก็ยังคงครองเสียงข้างมาก